“Pyrolysis” Process จากงานวิจัยกับการพัฒนาสู่โรงงานต้นแบบ
จากนั้นทำการทดลองถุงพลาสติกทั้ง 2 กลุ่ม ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน โดยทำการไพโรไลซิสโดยบรรจุพลาสติกที่เตรียมไว้ใส่ลงไปภายในขวดก้นกลม จากนั้นทำสุญญากาศภายในขวด โดยใช้ปั๊มดูดอากาศภายในออก จากนั้นปล่อยไนโตรเจนเข้าไปแทนที่ความดันบรรยากาศ แล้วให้ความร้อนจนขยะพลาสติกหลอมเหลว จนครบ 3 ชั่วโมง เมื่อเสร็จกระบวนการจะได้น้ำมันในรูปของเหลวและแก๊ส ส่วนกากที่เป็นไขอยู่ในรูปของแข็ง
มาดูขั้นตอนการวิจัย เริ่มจากการเตรียมขยะพลาสติกก่อนทำกระบวนการโดยนำถุงพลาสติกใหม่ชนิดพอลิพรอพิลีน (PP) และพอลิเอทธิลีน (PE) ผสมรวมกันด้วยการตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดประมาณ 1x1 เซนติเมตร ปริมาณ 100 กรัม เช่นเดียวกับขยะพลาสติกฝังกลบ (ของจริงจากเทศบาลธัญบุรี) ก็ใช้ชนิดพอลิพรอพิลีน (PP) และพอลิเอทธิลีน (PE) ในปริมาณและขนาดเท่ากับขยะใหม่ แต่ต้องผ่านการทำความสะอาดโดยล้างด้วยน้ำเปล่าแล้วนำมาตากแดดก่อน
จากนั้นทำการทดลองถุงพลาสติกทั้ง 2 กลุ่ม ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน โดยทำการไพโรไลซิสโดยบรรจุพลาสติกที่เตรียมไว้ใส่ลงไปภายในขวดก้นกลม จากนั้นทำสุญญากาศภายในขวด โดยใช้ปั๊มดูดอากาศภายในออก จากนั้นปล่อยไนโตรเจนเข้าไปแทนที่ความดันบรรยากาศ แล้วให้ความร้อนจนขยะพลาสติกหลอมเหลว จนครบ 3 ชั่วโมง เมื่อเสร็จกระบวนการจะได้น้ำมันในรูปของเหลวและแก๊ส ส่วนกากที่เป็นไขอยู่ในรูปของแข็ง
นำขยะพลาสติกตัดให้มีขนาด 1x1 เซนติเมตร จำนวน 100 กรัม
เตรียมขยะพลาสติกบรรจุลงในขวดแก้วปริมาณ 100 กรัม แล้วดูดอากาศภายในออก แล้วปล่อยไนโตรเจนแทนที่ก่อนให้ความร้อน
ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ น้ำมัน โดยนำมาทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพหลายหัวข้อเช่น ปริมาณธาตุตะกั่ว (Lead Content) ASTM D 3116, การกลั่นตัว (Distillation) ASTM D-86, ปริมาณกำมะถัน (Sulphur Content) ASTM D 129, การกัดกร่อนทองแดง (Copper Test) ASTM D 93, จุดวาบไฟ (Flash Point) ASTM D56/ASTM D-93 และความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity at 15.6/15.6 องศาเซลเซียส) ASTM D 1298 เป็นต้น
ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ น้ำมัน โดยนำมาทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพหลายหัวข้อเช่น ปริมาณธาตุตะกั่ว (Lead Content) ASTM D 3116, การกลั่นตัว (Distillation) ASTM D-86, ปริมาณกำมะถัน (Sulphur Content) ASTM D 129, การกัดกร่อนทองแดง (Copper Test) ASTM D 93, จุดวาบไฟ (Flash Point) ASTM D56/ASTM D-93 และความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity at 15.6/15.6 องศาเซลเซียส) ASTM D 1298 เป็นต้น
ขอขอบคุณ
ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น