วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก (2)

“Pyrolysis” Process จากงานวิจัยกับการพัฒนาสู่โรงงานต้นแบบ

มาดูขั้นตอนการวิจัย เริ่มจากการเตรียมขยะพลาสติกก่อนทำกระบวนการโดยนำถุงพลาสติกใหม่ชนิดพอลิพรอพิลีน (PP) และพอลิเอทธิลีน (PE) ผสมรวมกันด้วยการตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดประมาณ 1x1 เซนติเมตร ปริมาณ 100 กรัม เช่นเดียวกับขยะพลาสติกฝังกลบ (ของจริงจากเทศบาลธัญบุรี) ก็ใช้ชนิดพอลิพรอพิลีน (PP) และพอลิเอทธิลีน (PE) ในปริมาณและขนาดเท่ากับขยะใหม่ แต่ต้องผ่านการทำความสะอาดโดยล้างด้วยน้ำเปล่าแล้วนำมาตากแดดก่อน

จากนั้นทำการทดลองถุงพลาสติกทั้ง 2 กลุ่ม ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน โดยทำการไพโรไลซิสโดยบรรจุพลาสติกที่เตรียมไว้ใส่ลงไปภายในขวดก้นกลม จากนั้นทำสุญญากาศภายในขวด โดยใช้ปั๊มดูดอากาศภายในออก จากนั้นปล่อยไนโตรเจนเข้าไปแทนที่ความดันบรรยากาศ แล้วให้ความร้อนจนขยะพลาสติกหลอมเหลว จนครบ 3 ชั่วโมง เมื่อเสร็จกระบวนการจะได้น้ำมันในรูปของเหลวและแก๊ส ส่วนกากที่เป็นไขอยู่ในรูปของแข็ง


ขยะพลาสติกชนิดต่างๆ ขวดใส (PET), ขวดขุ่น (PE) ฝาขวด (HDPE) เป็นต้น



นำขยะพลาสติกตัดให้มีขนาด 1x1 เซนติเมตร จำนวน 100 กรัม

เตรียมขยะพลาสติกบรรจุลงในขวดแก้วปริมาณ 100 กรัม แล้วดูดอากาศภายในออก แล้วปล่อยไนโตรเจนแทนที่ก่อนให้ความร้อน
ขยะพลายติกจะเริ่มละลายกลายเป็นของเหลวราว 250 องศาเซลเซียส
กระบวนการในโรงงาน Sapporo Plastics Recycle ได้ผลผลิต Light oil 50% Medium oil 7% และ Heavy oil 43%



ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ น้ำมัน โดยนำมาทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพหลายหัวข้อเช่น ปริมาณธาตุตะกั่ว (Lead Content) ASTM D 3116, การกลั่นตัว (Distillation) ASTM D-86, ปริมาณกำมะถัน (Sulphur Content) ASTM D 129, การกัดกร่อนทองแดง (Copper Test) ASTM D 93, จุดวาบไฟ (Flash Point) ASTM D56/ASTM D-93 และความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity at 15.6/15.6 องศาเซลเซียส) ASTM D 1298 เป็นต้น
ขอขอบคุณ
ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น