ยามาฮ่ามีการปรับปรุงใหม่อีกครั้งกับแอดเวนเจอร์ทัวริ่งรุ่นนี้ ซึ่งการปรับปรุงจะมีทั้งในส่วนของเครื่องยนต์,
อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ต่างๆและมีออกมาให้เลือก 2 โมเดลคือ Standard
และ
ES
ในโมเดลใหม่ปี 2014 เครื่องยนต์ขนาด 1,199 ซีซี.
ถูกปรับให้มีกำลังเพิ่มขึ้นทั้งแรงม้าและแรงบิด ซึ่งทำให้บุคลิกของเครื่องยนต์ในโมเดลใหม่เปลี่ยนไปและรู้สึกได้ถึงกำลังที่เพิ่มขึ้น
รวมทั้งให้การตอบสนองของอัตราเร่งที่นุ่มนวล เครื่องยนต์ของรุ่นนี้เป็นแบบสองสูบเรียง
วางเอียงทำมุม 270 องศา เป็นเครื่องยนต์ที่จัดว่ามีขนาดเล็ก ซึ่งการถูกปรับใหม่ในครั้งนี้ทางยามาฮ่าได้เพิ่มกำลังขึ้นอีก
2 แรงม้าและแรงบิดอีก 1.5 ปอนด์-ฟุต
เครื่องยนต์ใช้การหล่อลื่นแบบดรายซัมพ์ โดยจะส่งน้ำมันเครื่องเข้าไปหล่อเลี้ยงในห้องเพลาข้อเหวี่ยง
ข้อดีอย่างหนึ่งของการใช้ระบบหล่อลื่นแบบนี้คือจะช่วยให้สามารถออกแบบเครื่องยนต์ให้มีขนาดเล็กลงได้
สำหรับวาล์วทั้ง 8 ตัวอยู่ภายใต้ฝาครอบวาล์วแมกนีเซียมน้ำหนักเบา พร้อมด้วยเพลาถ่วงดุลอีกสองชุดเพื่อช่วยลดการสั่นสะเทือนในขณะเครื่องยนต์ทำงาน
ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางสบายขึ้นแม้ในขณะใช้งานในเมือง ส่วนลูกสูบแบบฟอร์จอะลูมิเนียมและก้านสูบออกแบบมาสำหรับช่วยในการลดน้ำหนักและมีความทนทานสูง
ระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบหัวฉีดพร้อมด้วยหัวฉีด 12 รูเพียงพอสำหรับสมรรถนะในเส้นทางออฟโร้ดหรือแม้กระทั่งบนไฮเวย์
เทคโนโลยี YCC-T (Yamaha Chip Controlled Throttle) fly-by-wire สำหรับใช้กับระบบแทร็คชั่นคอนโทรล
ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมองศาการจุดระเบิด ปริมาณการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและองศาการเปิดของลิ้นปีกผีเสื้อ
โดยคนขี่สามารถเลือกการทำงานได้ 3 โหมด คือ D-Mode ซึ่งถูกตั้งค่าย่อยออกไปอีก
2 โหมด คือ T-mode สำหรับการเดินทางแบบทัวริ่งและการใช้งานทั่วไป
ส่วนใน S-mode เมื่อต้องการอารมณ์แบบสปอร์ตซึ่งต้องการสมรรถนะสูง สำหรับการส่งกำลังใช้เกียร์
6 สปีดในอัตราทดที่กว้าง เพื่อตอบสนองการใช้งานได้อย่างเต็มที่ทั้งการเดินทางช้าๆในเส้นทางแบบออฟโร้ดและเมื่อต้องใช้ความเร็วเมื่อเดินทางบนไฮเวย์
การส่งกำลังไปขับเคลื่อนที่ล้อหลังใช้เพลา
ซึ่งจะสะดวกทั้งการดูแลรักษาที่น้อยและมีความสะอาดมากกว่าการใช้โซ่และเพลาท้ายถูกออกแบบให้มีขนาดเล็ก
เฟรมโลหะของรุ่นนี้ถูกออกแบบมาเพื่อลดความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ในระหว่างการขี่ที่ยาวนาน
โดยในส่วนของ
เมนเฟรมจะใช้โลหะซึ่งจะให้สมดุลที่ดีที่สุดของความแข็งแรงและความยืดหยุ่น
รวมทั้งดูดซับแรงกระแทกจากพื้นผิวถนนที่ไม่ราบเรียบได้อย่างดี
เครื่องยนต์จะถูกยึดรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเฟรม ตำแหน่งของห้องเพลาข้อเหวี่ยงจะอยู่ต่ำและอยู่ใกล้กับที่พักเท้า
ช่วยให้รู้สึกว่ารถมีน้ำหนักเบาแม้ในทางออฟโร้ด ระบบเบรก ABS และ
Unified Brake System (UBS) ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยป้องกันล้อล็อคในระหว่างการเบรก
ระบบนี้จะช่วยให้ผู้ขับขี่ใช้งานเบรกด้านหน้าและด้านหลังด้วยกันได้อย่าง่ายๆ โดยเพียงแค่การดึงมือเบรกด้านหน้าเท่านั้น
ระบบนี้จะเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องอยู่ในท่ายืน ส่วนการใช้เบรกหลังระบบ
UBS จะแยกการทำงานออกจากเบรกหน้า
การปรับระบบรองรับน้ำหนักแบบปรีโหลดทำให้สามารถปรับได้อย่างเหมาะสมกับภาระของโหลดและน้ำหนักของผู้โดยสาร
ช้อคอัพหน้าปรับได้ทั้งคอมเพรสชั่นและรีบาวด์ ส่วนด้านหลังปรับได้เพียงรีบาวด์ สำหรับถังน้ำมันเชื้อเพลิงความจุราว
23
ลิตรช่วยให้เดินทางได้ยาวไกลโดยไม่ต้องเสียงเวลาเติมน้ำมันบ่อยครั้ง
โมเดลใหม่ได้ออกแบบกระจกบังลมหน้าให้ช่วยป้องกันลมได้ดีขึ้น
ลดเสียงลมปะทะและสามารถปรับระดับความสูงได้ง่ายและรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ
ในตำแหน่งของแฮนด์ถูกขยับเข้ามาใกล้อีก 10 มม.และสูงขึ้นอีก 10
มม.ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายของผู้ขี่ รวมทั้งเบาะนั่งปรับระดับสูงต่ำได้อีก 1
นิ้ว มาตรวัดออกแบบใหม่ซึ่งจะแสดงผลที่ชัดเจนช่วยให้อ่านข้อมูลได้ง่ายและใช้งานง่ายขึ้นอีกด้วย
สำหรับไฟเลี้ยวเป็นแบบ LED มีประสิทธิภาพสูงและทันสมัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น