ในวงการเบรกชื่อเสียงของ ‘เบรมโบ้’ เป็นที่รู้จักกันอย่างดีและยอมรับกันอย่างกว้างขวางในคุณภาพระบบเบรกที่ยอดเยี่ยม
ซึ่งจะเห็นว่าระบบเบรกของเบรมโบ้มักจะถูกติดตั้งอยู่ในรถที่มีสมรรถนะสูง รวมถึงในวงการแข่งขันซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกใช้ระบบเบรกของเบรมโบ้
ในวงการมอเตอร์สปอร์ตระบบเบรกคุณภาพสูงจากเบรมโบ้จะมีใช้ทั้งในการแข่งขันฟอร์มูล่าวัน, เวิลด์แรลลี่, เวิลด์ซูเปอร์ไบค์และ โมโตจีพี ซึ่งทีมแข่งระดับแนวหน้าจะให้ความไว้วางใจ โดยเบรมโบ้ได้ใช้วิศวกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตระบบเบรกที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้ระบบเบรกที่ทันสมัยที่สุดในโลกและในการพัฒนาระบบเบรกที่ใช้ในการแข่งขันเอฟวันและโมโตจีพีจะมีการเซ็ตอัพแตกต่างกัน
ซึ่งทาง Roberto Pellegrini ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของเบรมโบ้ได้อธิบายว่า
“คาลิเปอร์เบรกของเบรมโบ้ที่ใช้ในรถแข่งเอฟวันและโมโตจีพี ความจริงแล้วดูคล้ายกันมาก
เพียงแต่มีความแตกต่างที่สำคัญคือ ตัวแข่งเอฟวันจะใช้
6
ลูกสูบและตัวแข่งโมโตจีพีจะใช้ 4 ลูกสูบต่อคาลิเปอร์ โดยคาลิเปอร์แบบนี้ถูกสร้างขึ้นจากโลหะผสม
ลิเธี่ยม-อะลูมิเนียมอัลลอยและออกแบบให้เป็นชิ้นเดียวแบบโมโนบล็อก ลูกสูบเบรกทำจากไททาเนี่ยมและการยึดเป็นแบบเรเดียลเม้าท์
แต่ขนาดของลูกสูบเบรกไม่สามารถบอกได้ ‘เป็นความลับ’ และยังมีความแตกต่างที่สำคัญอีกประการคือ
เรื่องของแรงดันและกำลังในการเบรก”
ตัวแข่งโมโตจีพีสามารถสร้างแรงดันได้ 40 บาร์
ในขณะที่ตัวแข่งเอฟวันแรงดันจะสูงถึง 100 บาร์ ซึ่งคือ 5,000 กิโลกรัมของแรงจับยึดและจะเกิดแรงในระดับ
-5 g จากการชะลอตัว ในรถแข่งเอฟวันเราคงจะเคยเห็นจานดิสก์เบรกที่ร้อนจนเป็นสีแดง
ซึ่งมีอุณหภูมิอยู่ที่ 900 องศาเซลเซียส ส่วนของตัวแข่งโมโตจีพีการเบรกจะนุ่มนวลกว่า
ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยที่ความร้อนจะถูกสร้างขึ้นจนมีอุณหภูมิสูง ทางด้านของน้ำมันเบรกมีความแตกต่างกัน โดยของรถแข่งเอฟวันจะมีจุดเดือดสูงมาก แต่ในตัวแข่งโมโตจีพีไม่จำเป็นขนาดนั้น เพราะเป็นวิธีการขับรถเอฟวันและนักแข่งจะใช้เบรกอย่างหนักหน่วง
ในขณะที่นักแข่งโมโตจีพีจะต้องใช้ความรู้สึก สำหรับแป้นเบรกของรถแข่งเอฟวันจะมีแรงดันราวๆ
90 กิโลกรัม นักแข่งจะต้องใช้กำลังขามาก
ส่วนของนักแข่งโมโตจีพีจะใช้นิ้วมือเพียงหนึ่งหรือสองนิ้วเท่านั้น
ในขณะที่ทีมงานวิศวกรของเบรมโบ้ยังคงทำงานพัฒนาและปรับปรุงระบบเบรกสำหรับรถแข่งเอฟวันและโมโตจีพี
ทีมงานอีกส่วนมีความคิดเกี่ยวกับอนาคตของการเบรกที่ใช้กับรถถนน โดยการปรับปรุงหลักจะอยู่ที่การลดน้ำหนักและอาจจะมีความพร้อมที่จะทำเบรกคาร์บอน-เซรามิกสำหรับรถถนนออกมา
แต่ว่าในขณะนี้ตลาดคงยังไม่มีความพร้อมสำหรับเบรกแบบนี้ โดย Roberto
Lavezzi ผู้อำนวยการทางด้านเทคนิคมอเตอร์ไซค์ให้ความเห็นว่า ทางด้านประสิทธิภาพไม่ใช่ปัญหา
เพราะคาร์บอน-เซรามิกทำงานที่อุณหภูมิต่ำ แต่ปัญหาจริงๆจะอยู่ที่ค่าใช้จ่าย ซึ่งเบรกคาร์บอน-เซรามิกจะมีราคาสูง
ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าดิสก์เบรกแบบมาตรฐาน ดิสก์เบรกแบบคาร์บอน-เซรามิกมีข้อดีตรงที่มีน้ำหนักเบามาก
ซึ่งเบากว่าดิสก์เบรกแบบธรรมดาถึงราวร้อยละ 50
ในอนาคตทางทีมงานของเบรมโบ้คิดว่าจะมีการเซ็ตอัพใหม่ให้กับดิสก์เบรกในแบบเดิม
ซึ่งจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกร้อยละ 10 และในเวลานี้มีการตั้งเป้าในเรื่องของการลดน้ำหนัก
โดยมีการร่วมมือกับทาง Marchesini ในการทดลองรวมล้อ, เบรกและคาลิเปอร์เข้าไว้ด้วยกันและกำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบ
ซึ่งอาจจะได้เห็นผลงานชิ้นใหม่ในอีกไม่นานนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น